ขั้นตอนการล้างกรวดล้าง วิธีทำกรวดล้าง
ย้อนไปบทความก่อนหน้านี้ที่ผมได้เคยเขียนบทความเกี่ยวกับ การทำกรวดล้างไปแล้ว มาบทความนี้ก็มีคลิปวิดีโอ ขั้นตอนการล้างกรวดล้าง มาให้ดูครับ ซึ่งขั้นตอนนี้ก็เป็นขั้นตอนต่อจากการฉาบหรือปาดกรวดล้างลงไปจนเต็มพื้นที่แล้ว โดยทิ้งไว้ให้ปูนเริ่มเซ็ทตัวซักประมาณครึ่งชั่วโมง แล้วลองใช้นิ้วจิ้มดูถ้าปูนยุบนิดๆหรือนิ่มนิดๆก็สามารถทำการล้างกรวดได้แล้ว (อย่าปล่อยให้ปูนแข็งตัวจนเกินไปเพราะจะทำให้ล้างปูนไม่ออก หรือหากปูนนิ่มจนเกินไปก็อย่าพึ่งล้างเพราะจะทำให้เนื้อปูนหรือก้อนกรวดหลุดลุ่ยออกมา) หลายคนอาจเกิดคำถามว่าต้องทิ้งปูนไว้นานแค่ไหนก่อนทำการล้างกรวด อันนี้ก็คงบอกเป็นตัวเลขเป๊ะๆไม่ได้ เพราะ?
- ขึ้นอยู่กับการผสมปูน บางคนผสมปูนข้นไปหรือเหลวไป ก็ทำให้ระยะเวลาการเซ็ทตัวของปูนไม่เท่ากัน
- สภาพอากาศในขณะนั้น เช่น หากอยู่ในช่วงอากาศร้อนหรือแดดจัด ปูนก็จะเซ็ทตัวเร็ว, หากทำงานในช่วงอากาศเย็นไม่มีแดดหรืออยู่ในช่วงครึ้มฝ้าครึ้มฝน ปูนก็จะเซ็ทตัวช้า เป็นต้น
**ดังนั้นวิธีที่เหมาะสมก็คือ ควรใช้วิธีสังเกตหรือสัมผัสกับผิวปูน(กรวดล้าง)ร่วมด้วย เพื่อดูว่าสามารถล้างกรวดได้หรือยังอย่างที่ผมเกริ่นไว้ด้านบน
อุปกรณ์สำหรับขั้นตอนการล้างกรวดล้าง มีอะไรบ้าง
1.ถังใส่น้ำ
2.แปรงสลัดน้ำ
3.แปรงทาสี
ขั้นตอนการล้างกรวดล้าง
2. สำหรับบริเวณที่แคบหรือใช้แปรงสลัดน้ำเข้าไปล้างไม่ถึง ก็ให้ใช้แปรงทาสีสลัดน้ำแล้วปัดหรือล้างน้ำปูนออก
**ทำไมถึงต้องล้างกรวด? ก็เพราะเนื้อปูนจะหุ้มเม็ดกรวดอยู่ จุดประสงค์ที่เราล้างกรวดก็เพื่อต้องการล้างเอาเนื้อปูนที่หุ้มเม็ดกรวดอยู่ออกเพื่อโชว์ให้เห็นความสวยงามของเม็ดกรวด หากไม่ล้างปูนออกก็จะมองไม่เห็นเม็ดกรวด แล้วจะเรียกว่า “ทำกรวดล้าง” ได้อย่างไรครับ?
หลังจากขั้นตอนการล้างกรวดล้าง เสร็จเรียบร้อยแล้วก็จะได้ออกมาเหมือนอย่างในรูปบนสุด แต่ยังไม่จบขั้นตอนนะครับ ต้องปล่อยให้ปูนแห้งดีเสียก่อนแล้วค่อยทำการล้างด้วยกรดเกลืออีกครั้งหนึ่งเพื่อล้างเอาคราบขาวหม่นๆของน้ำปูนออกจากซอกเม็ดหิน ก็จะได้เม็ดหินที่ใสวาวสวยงาม
ขอบคุณครับ ดูเหมือนจะง่ายเลยนะ!